วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552





วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


คอมพิวเตอร์สีเขียว เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม
การช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อรักษาโลก คนละไม้คนละมือไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ บางครั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราลืมคิดไป หรือไม่ทันนึกถึงนี่แหละ ก็สามารถช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ได้อย่างเห็นผล ถ้าทุกคนร่วมมือกันอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ สมองกลอัจฉริยะที่ ณ ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ในโลกไปแล้ว ถ้าเราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ ท่านเชื่อไหมว่าจะช่วยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้แบบง่ายดายสุดๆ เช่นกัน!
เคล็ดลับประหยัดพลังงานและค่าไฟ
1.เริ่มต้นกันที่ จอภาพ แค่ลดความสว่างลง ไม่ต้องตั้งให้สว่างจ้าเกินไป จะลดอัตราการกินไฟทันที
2.เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดทั้งคอมพิวเตอร์ จอ ภาพ พรินเตอร์ และถอดปลั๊กออกด้วย
3. การตั้งค่าพักหน้าจอให้อยู่ในโหมด Screen Saver ไม่ได้ช่วยประหยัดพลังงาน เพราะจอภาพยังทำงานเหมือนเดิม
4.ถ้าคิดว่าจะพักใช้งานชั่วคราวไม่เกิน 1 ชั่วโมง ให้เลือกปิด หรือ Shut Down ด้วยโหมด Standby แต่ถ้าพักนานราว 2-3 ชั่วโมงให้เลือกโหมด Hibernate
5.ถ้าขี้เกียจนั่งกด Shut Down ให้เซ็ตตั้งค่าพักเครื่องแบบ Standby โดยระบบอัตโนมัติ โดยให้เข้าไปตั้งใน Control Panel เลือกหัวข้อ Power Options Properties จากนั้นตรงหัวข้อ Turn off Monitor เลือกตั้งค่าไว้ 10 นาที ส่วนค่า Standby ตั้งไว้ 1 ชั่วโมง
6.จอแบน (Flat Panel) กินไฟน้อย
7.ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหนักๆ ควรเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ โน้ตบุ๊ก เพราะกินไฟน้อยกว่าแบบตั้งโต๊ะ
การจัดการกับ คอมพ์เก่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมี "สารเคมีเป็นพิษ" เป็นส่วนผสมอยู่หลายชนิด ที่พบบ่อย เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู สารทนไฟกลุ่มโบรมีน แคดเมียม และเบริลเลียม ในแต่ละปีคาดว่ามีคอมพิวเตอร์ตกรุ่นประมาณ 40 ล้านเครื่องทั่วโลก ถ้าเจ้าของต่างพร้อมใจนำไปทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางโดยไม่จัดการดูแลให้ดีจะสร้างปัญหา "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกขณะ เพราะสารพิษดังกล่าวจะแทรกซึมเข้าสู่สภาพแวดล้อมข้อแนะนำที่ดีที่สุด คือ ให้นำเครื่องตกรุ่นเหล่านั้นไป บริจาค ตามสถาบันการศึกษา กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สถานที่ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ฯลฯถ้ายังพอใช้งานได้ ให้นำไปปรึกษาช่างคอม พิวเตอร์ว่าสามารถ "อัพเกรด" ถอดเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่ๆ เข้าไปใช้แทนของเก่าได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ก่อนหอบไปบริจาคนั้นควรต้องลบ "ข้อมูลส่วนตัว" ที่อยู่ในความจำออกไปเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เสียดายตัดใจบริจาคไม่ลง ให้ถอดแยกชิ้น "ฮาร์ดแวร์" ที่ยังใช้งานได้อยู่มาเก็บไว้เป็นอะไหล่สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แรม สายเคเบิล พัดลมระบายความร้อน เทคนิคง่ายๆ เพียงแค่นี้ ช่วยให้เราใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด!







ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

ข้อ 1 ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบ
ความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ ในการปฏิบัติงานที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสารสนเทศด้านบุคลากร สารสนเทศด้านงบประมาณ สารสนเทศด้านวัสดุและครุภัณฑ์ สารสนเทศด้านการเงินและบัญชี สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา โดยมีกรอบแนวคิด ดังนี้
1. ดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายทั้ง Inreanet และ Internet ให้คลอบคลุมทุกกลุ่มงานและสถานศึกษา
2. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 (AOC) เพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เป็นตัวชี้วัดสภาวะการศึกษาปัจจุบันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
3. มีการวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำดัชนีการศึกษานำเสนอบน Website และเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (DOC) ตลอดจนนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจและการวางแผนการพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
ขั้นตอนดำเนินงาน
1. จัดแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์กรตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้องตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์กรได้ 3 ระดับ คือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์กร
2. ประชุมชี้แจงเพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบาย และชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้
3. จัดทำแผนการใช้สารสนเทศส่วนงานต่าง ๆ โดยจัดในรูปโครงการ ได้แก่
3.1 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การใช้โปรแกรม SMIS
3.2 โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
3.3 โครงการขับเคลื่อนการเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น พัฒนาระบบข้อมูล GIS
3.4 โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศผลการเรียนของนักเรียน (GPA)
3.5 โครงการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน (KM)
3.6 โครงการส่งเสริมพัฒนาการขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน ผ่าน Webblog
3.7 โครงการพัฒนานวัตกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ผ่าน Webblog
3.8 โครงการพัฒนาคุณภาพและยกมาตรฐานโรงเรียนขนาดเล็ก การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
3.9 โครงการอบรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์และการใช้ E-new
3.10 โครงการประชาสัมพันธ์โดยการใช้ Pr electronic board
3.11 โครงการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ E-Learning
4. การจัดการสารสนเทศขององค์กร ได้นำสาระสนเทศมาใช้ในสำนักงาน ดังนี้
4.1 ระบบ E-filling ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี
เขต 1 กับหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
4.2 ระบบ E-office ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4.3 ระบบ Land การบันทึกเสนองานและวินิจฉัยสั่งการภายในสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาราชบุรี เขต 1 ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน กับผู้บังคับบัญชา
4.4 โปรแกรม P-Obec ใช้ในการทำฐานข้อมูลการบริหารงานบุคคล เพื่อการวางแผน
พัฒนาและการบริหารจัดการสารสนเทศด้านบุคลากร

ในการปฏิบัติงานที่กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี
เขต 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องรับผิดชอบงาน ในด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การออกจากราชการ งานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ งานพัฒนาบุคลากร รวมถึงงานวินัยและนิติการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละงาน มีการจัดทำข้อมูลหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องเรียกเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงาน ของตนเองกับสถานศึกษาซ้ำ ๆ กันตามภารกิจของแต่ละงาน ปีละหลาย ๆ ครั้ง เช่น การขอข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลบุคคลในครอบครัว ข้อมูลที่อยู่อาศัย ข้อมูลวุฒิการศึกษา ข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บางครั้งการขอข้อมูลดังกล่าวทำให้งานเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อกำหนด และโรงเรียนต้องจัดทำข้อมูลเดียวกันหลายครั้ง
ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เป็นไปด้วยความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมไว้มาใช้ได้ทันที จึงนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานข้อมูล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานดังนี้
1. เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลด้านการบริหารงานบุคคล ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สนองตอบความต้องการของหน่วยงานในระดับประเทศ
2. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบ และเกิดผลสำเร็จตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3. หน่วยงานและผู้รับผิดชอบในระดับสูง สามารถนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

สรุป
ในปัจจุบันการจัดการเทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่แสวงหากำไร หรือไม่แสวงหากำไร จำเป็นต้องวางแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีของหน่วยงานอย่างรอบคอบ และจะต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในด้านการจัดการเทคโนโลยีขึ้น ผู้บริหารเทคโนโลยีจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเทคโนโลยี เข้าใจลักษณะและธรรมชาติของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการปฏิบัติงาน และ การสร้างหน่วยงานให้มีความเข้มแข็งต่อไป

ข้อ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย
จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย เนื่องจากแผนแม่บทฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็น Smart Thailand โดยเน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและเพียงพอ การพัฒนาโครงข่ายไอซีทีความเร็วสูง และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการไอซีที ที่มีธรรมาภิบาล
สำหรับเป้าหมายสำคัญของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 นี้ คือ
1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและใช้ ไอซีที ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
2. ยกระดับความพร้อมด้านไอซีทีในการจัดอันดับดัชนีบ่งชี้ระดับความพร้อมของการพัฒนาไอซีที และโอกาสในการใช้ประโยชน์จากไอซีทีในการพัฒนาประเทศ (Networked Readiness Rankings) ให้อยู่ในระดับสูงติดอันดับ 1 ใน 25
3. มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไอซีที ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 15%
“กระทรวงไอซีที ได้รับมอบหมายให้วางแผนการผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ อย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ ไอซีทีกระตุ้นเศรษฐกิจ กำหนดมาตรการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกัน กำกับดูแล อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และภัยร้ายต่อสังคม โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อการให้บริการประชาชน และผลักดันการใช้ open source เพื่อส่งเสริมนโยบายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนานักวิจัยของประเทศไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งนี้ แผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้มีการพัฒนาบุคคลากรโดยแบ่งกลุ่มบุคลากรวิชาชีพ และผู้ใช้ไอซีทีเพื่อรองรับการนำประเทศไทยไปสู่สังคมอุดมปัญญาอย่างต่อเนื่อง

โครงการที่สำคัญในแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ได้แก่
การกำหนดกรอบนโยบาย ICT 2020 ( พ.ศ. 2554-2563)
เนื่องจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย (IT2010) จะสิ้นสุดระยะเวลา ของกรอบนโยบายฯ ในปี พ.ศ. 2553 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ดำเนินการจัดทำแนวคิด สำหรับจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย (IT 2020) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า
การจัดตั้งวิทยาลัย ICT
เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้านไอที ดังนั้น จึงเห็นควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้านICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
การพัฒนากฎหมายด้าน ICT
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่ สิ่งที่ไม่เหมาะสมอันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ทั้งนี้ ได้มีกฎหมายที่ได้ประกาศใช้ไปแล้ว จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้น มิให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ พ.ศ. 2549
3. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ภาครัฐ พ.ศ. 2549
4. พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550
พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ข้อ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้
คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปราย
ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เนื่องด้วยในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดย มิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นจึงต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
การบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่า กฎหมายนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการจัดระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกัน
ระบบจะช่วยสกัดกั้นการเข้าถึง
1. เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน
2. เว็บไซต์ล่อลวง
3. เว็บไซต์หลอกลวงต้มตุ๋น ตลอดจนเว็บไซต์ที่ทำให้ระบบเครือข่ายทำงานช้า
4. การดาวน์โหลนไฟล์ที่ไม่พึงประสงค์
พระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แบ่งได้เป็น 2 หมวด 30 มาตรา
หมวดที่ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีมาตราที่ 5 – มาตราที่ 16 ด้วยกันหลัก ๆ
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ หมวดนี้ในมาตรา 26 ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ประกอบการมาก นั่นคือ ผู้ให้บริการจะต้องจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการจัดเก็บนั้น จัดเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็น เพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทางปลายทาง ข้อมูลที่ระบุพฤติกรรมการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต อาทิวันและเวลาไม่ต้องเก็บข้อมูลทั้งหมด หากผู้ให้บริการรายใดไม่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีความผิดปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบข้อมูลแล้วผู้ให้บริการไม่มีข้อมูลดังกล่าว ถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละบาท จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง ซึ่งผู้ให้บริการภายใต้กฎหมายนี้ เช่น เว็บ Sanook, Kapook ทั้งนี้จากการที่กฎหมายดังกล่าวบังคับใช้อาจทำให้ผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
การติดตามผู้กระทำผิดถือว่าเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ให้บริการ สามารถตรวจสอบผู้กระทำผิดได้จาก IP วันและเวลาที่ Post ข้อความ
สิ่งที่สำหรับ พ.ร.บ.นี้ถูกนำมาใช้ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลการจราจรของคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต และองค์กรอื่น ๆ ทันที
จะเห็นได้ว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีเยอะมาก และก็มาในหลายรูปแบบอาจปลอมตัวมาทดลองงานในองค์กรองค์กรหนึ่งแล้วก็ล้วงความลับขโมย ทำลาย ก่อกวน เจาะระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจนก่อให้เกิดความเสียหาย
หากผู้ใช้บริการไม่ศึกษา พ.ร.บ.นี้ ให้เข้าใจอาจจะทำให้ได้รับโทษโดยที่ไม่ทันตั้งตัวก็เป็นได้
สื่อคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอยู่บ้าง เช่น
1. กรณีหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ (ตามมาตรา 26) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ กรณีนี้จะทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
2. ความเข้าใจของประชาชน
3. ประกาศที่ตามมาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (ไอซีที) ต้องมีความ
ชัดเจน เช่น หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ควรเก็บเฉพาะผู้แสดงความคิดเห็นเท่านั้น แต่ไม่ควรเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งหมด ซึ่งการเก็บข้อมูลก็ไม่ควรเก็บรายละเอียดเยอะเกินไป เพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ให้บริการ