วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


คอมพิวเตอร์สีเขียว เพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม
การช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อรักษาโลก คนละไม้คนละมือไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ บางครั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราลืมคิดไป หรือไม่ทันนึกถึงนี่แหละ ก็สามารถช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ได้อย่างเห็นผล ถ้าทุกคนร่วมมือกันอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ สมองกลอัจฉริยะที่ ณ ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนส่วนใหญ่ในโลกไปแล้ว ถ้าเราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ ท่านเชื่อไหมว่าจะช่วยประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้แบบง่ายดายสุดๆ เช่นกัน!
เคล็ดลับประหยัดพลังงานและค่าไฟ
1.เริ่มต้นกันที่ จอภาพ แค่ลดความสว่างลง ไม่ต้องตั้งให้สว่างจ้าเกินไป จะลดอัตราการกินไฟทันที
2.เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดทั้งคอมพิวเตอร์ จอ ภาพ พรินเตอร์ และถอดปลั๊กออกด้วย
3. การตั้งค่าพักหน้าจอให้อยู่ในโหมด Screen Saver ไม่ได้ช่วยประหยัดพลังงาน เพราะจอภาพยังทำงานเหมือนเดิม
4.ถ้าคิดว่าจะพักใช้งานชั่วคราวไม่เกิน 1 ชั่วโมง ให้เลือกปิด หรือ Shut Down ด้วยโหมด Standby แต่ถ้าพักนานราว 2-3 ชั่วโมงให้เลือกโหมด Hibernate
5.ถ้าขี้เกียจนั่งกด Shut Down ให้เซ็ตตั้งค่าพักเครื่องแบบ Standby โดยระบบอัตโนมัติ โดยให้เข้าไปตั้งใน Control Panel เลือกหัวข้อ Power Options Properties จากนั้นตรงหัวข้อ Turn off Monitor เลือกตั้งค่าไว้ 10 นาที ส่วนค่า Standby ตั้งไว้ 1 ชั่วโมง
6.จอแบน (Flat Panel) กินไฟน้อย
7.ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานหนักๆ ควรเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ โน้ตบุ๊ก เพราะกินไฟน้อยกว่าแบบตั้งโต๊ะ
การจัดการกับ คอมพ์เก่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมี "สารเคมีเป็นพิษ" เป็นส่วนผสมอยู่หลายชนิด ที่พบบ่อย เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู สารทนไฟกลุ่มโบรมีน แคดเมียม และเบริลเลียม ในแต่ละปีคาดว่ามีคอมพิวเตอร์ตกรุ่นประมาณ 40 ล้านเครื่องทั่วโลก ถ้าเจ้าของต่างพร้อมใจนำไปทิ้งไม่เป็นที่เป็นทางโดยไม่จัดการดูแลให้ดีจะสร้างปัญหา "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกขณะ เพราะสารพิษดังกล่าวจะแทรกซึมเข้าสู่สภาพแวดล้อมข้อแนะนำที่ดีที่สุด คือ ให้นำเครื่องตกรุ่นเหล่านั้นไป บริจาค ตามสถาบันการศึกษา กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สถานที่ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ฯลฯถ้ายังพอใช้งานได้ ให้นำไปปรึกษาช่างคอม พิวเตอร์ว่าสามารถ "อัพเกรด" ถอดเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่ๆ เข้าไปใช้แทนของเก่าได้หรือไม่อย่างไรก็ตาม ก่อนหอบไปบริจาคนั้นควรต้องลบ "ข้อมูลส่วนตัว" ที่อยู่ในความจำออกไปเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เสียดายตัดใจบริจาคไม่ลง ให้ถอดแยกชิ้น "ฮาร์ดแวร์" ที่ยังใช้งานได้อยู่มาเก็บไว้เป็นอะไหล่สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แรม สายเคเบิล พัดลมระบายความร้อน เทคนิคง่ายๆ เพียงแค่นี้ ช่วยให้เราใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

ข้อ 1 ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบ
ความคิด ขั้นตอนผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ ในการปฏิบัติงานที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสารสนเทศด้านบุคลากร สารสนเทศด้านงบประมาณ สารสนเทศด้านวัสดุและครุภัณฑ์ สารสนเทศด้านการเงินและบัญชี สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา โดยมีกรอบแนวคิด ดังนี้
1. ดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายทั้ง Inreanet และ Internet ให้คลอบคลุมทุกกลุ่มงานและสถานศึกษา
2. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 (AOC) เพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เป็นตัวชี้วัดสภาวะการศึกษาปัจจุบันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1
3. มีการวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำดัชนีการศึกษานำเสนอบน Website และเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (DOC) ตลอดจนนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจและการวางแผนการพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
ขั้นตอนดำเนินงาน
1. จัดแบ่งการจัดการสารสนเทศขององค์กรตามจำนวนคนที่เกี่ยวข้องตามรูปแบบการรวมกลุ่มขององค์กรได้ 3 ระดับ คือ ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม และระบบสารสนเทศระดับองค์กร
2. ประชุมชี้แจงเพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบาย และชี้ให้เห็นความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในเชิงรุก เพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้
3. จัดทำแผนการใช้สารสนเทศส่วนงานต่าง ๆ โดยจัดในรูปโครงการ ได้แก่
3.1 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การใช้โปรแกรม SMIS
3.2 โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
3.3 โครงการขับเคลื่อนการเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น พัฒนาระบบข้อมูล GIS
3.4 โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศผลการเรียนของนักเรียน (GPA)
3.5 โครงการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน (KM)
3.6 โครงการส่งเสริมพัฒนาการขับเคลื่อนกระบวนการคิดสู่ห้องเรียน ผ่าน Webblog
3.7 โครงการพัฒนานวัตกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ผ่าน Webblog
3.8 โครงการพัฒนาคุณภาพและยกมาตรฐานโรงเรียนขนาดเล็ก การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
3.9 โครงการอบรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์และการใช้ E-new
3.10 โครงการประชาสัมพันธ์โดยการใช้ Pr electronic board
3.11 โครงการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ E-Learning
4. การจัดการสารสนเทศขององค์กร ได้นำสาระสนเทศมาใช้ในสำนักงาน ดังนี้
4.1 ระบบ E-filling ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี
เขต 1 กับหน่วยงานต้นสังกัด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
4.2 ระบบ E-office ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4.3 ระบบ Land การบันทึกเสนองานและวินิจฉัยสั่งการภายในสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาราชบุรี เขต 1 ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน กับผู้บังคับบัญชา
4.4 โปรแกรม P-Obec ใช้ในการทำฐานข้อมูลการบริหารงานบุคคล เพื่อการวางแผน
พัฒนาและการบริหารจัดการสารสนเทศด้านบุคลากร

ในการปฏิบัติงานที่กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี
เขต 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะต้องรับผิดชอบงาน ในด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การออกจากราชการ งานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ งานพัฒนาบุคลากร รวมถึงงานวินัยและนิติการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละงาน มีการจัดทำข้อมูลหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องเรียกเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจงาน ของตนเองกับสถานศึกษาซ้ำ ๆ กันตามภารกิจของแต่ละงาน ปีละหลาย ๆ ครั้ง เช่น การขอข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลบุคคลในครอบครัว ข้อมูลที่อยู่อาศัย ข้อมูลวุฒิการศึกษา ข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บางครั้งการขอข้อมูลดังกล่าวทำให้งานเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อกำหนด และโรงเรียนต้องจัดทำข้อมูลเดียวกันหลายครั้ง
ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เป็นไปด้วยความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมไว้มาใช้ได้ทันที จึงนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานข้อมูล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานดังนี้
1. เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลด้านการบริหารงานบุคคล ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล สนองตอบความต้องการของหน่วยงานในระดับประเทศ
2. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบ และเกิดผลสำเร็จตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3. หน่วยงานและผู้รับผิดชอบในระดับสูง สามารถนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการบริหารให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

สรุป
ในปัจจุบันการจัดการเทคโนโลยีมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่แสวงหากำไร หรือไม่แสวงหากำไร จำเป็นต้องวางแนวทางในการจัดการเทคโนโลยีของหน่วยงานอย่างรอบคอบ และจะต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในด้านการจัดการเทคโนโลยีขึ้น ผู้บริหารเทคโนโลยีจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเทคโนโลยี เข้าใจลักษณะและธรรมชาติของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการปฏิบัติงาน และ การสร้างหน่วยงานให้มีความเข้มแข็งต่อไป

ข้อ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย
จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ตอบ เห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย เนื่องจากแผนแม่บทฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็น Smart Thailand โดยเน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและเพียงพอ การพัฒนาโครงข่ายไอซีทีความเร็วสูง และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการไอซีที ที่มีธรรมาภิบาล
สำหรับเป้าหมายสำคัญของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 นี้ คือ
1. ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและใช้ ไอซีที ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
2. ยกระดับความพร้อมด้านไอซีทีในการจัดอันดับดัชนีบ่งชี้ระดับความพร้อมของการพัฒนาไอซีที และโอกาสในการใช้ประโยชน์จากไอซีทีในการพัฒนาประเทศ (Networked Readiness Rankings) ให้อยู่ในระดับสูงติดอันดับ 1 ใน 25
3. มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมไอซีที ต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 15%
“กระทรวงไอซีที ได้รับมอบหมายให้วางแผนการผลักดันการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ อย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ ไอซีทีกระตุ้นเศรษฐกิจ กำหนดมาตรการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ เช่น เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการในการป้องกัน กำกับดูแล อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และภัยร้ายต่อสังคม โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อการให้บริการประชาชน และผลักดันการใช้ open source เพื่อส่งเสริมนโยบายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนานักวิจัยของประเทศไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งนี้ แผนแม่บทฯ ได้กำหนดให้มีการพัฒนาบุคคลากรโดยแบ่งกลุ่มบุคลากรวิชาชีพ และผู้ใช้ไอซีทีเพื่อรองรับการนำประเทศไทยไปสู่สังคมอุดมปัญญาอย่างต่อเนื่อง

โครงการที่สำคัญในแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ได้แก่
การกำหนดกรอบนโยบาย ICT 2020 ( พ.ศ. 2554-2563)
เนื่องจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย (IT2010) จะสิ้นสุดระยะเวลา ของกรอบนโยบายฯ ในปี พ.ศ. 2553 ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ดำเนินการจัดทำแนวคิด สำหรับจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย (IT 2020) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายฯ ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในระยะเวลา 10 ปี ข้างหน้า
การจัดตั้งวิทยาลัย ICT
เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศมีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่ธุรกิจด้านไอที ดังนั้น จึงเห็นควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้านICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
การพัฒนากฎหมายด้าน ICT
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่ สิ่งที่ไม่เหมาะสมอันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ทั้งนี้ ได้มีกฎหมายที่ได้ประกาศใช้ไปแล้ว จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
2. พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ยกเว้น มิให้นำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับ พ.ศ. 2549
3. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ภาครัฐ พ.ศ. 2549
4. พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550
พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่
พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ข้อ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้
คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปราย
ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ตอบ เนื่องด้วยในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดย มิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นจึงต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
การบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่า กฎหมายนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการจัดระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกัน
ระบบจะช่วยสกัดกั้นการเข้าถึง
1. เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน
2. เว็บไซต์ล่อลวง
3. เว็บไซต์หลอกลวงต้มตุ๋น ตลอดจนเว็บไซต์ที่ทำให้ระบบเครือข่ายทำงานช้า
4. การดาวน์โหลนไฟล์ที่ไม่พึงประสงค์
พระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แบ่งได้เป็น 2 หมวด 30 มาตรา
หมวดที่ 1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีมาตราที่ 5 – มาตราที่ 16 ด้วยกันหลัก ๆ
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องพนักงานเจ้าหน้าที่ หมวดนี้ในมาตรา 26 ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ประกอบการมาก นั่นคือ ผู้ให้บริการจะต้องจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 90 วัน นับตั้งแต่ข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่ผู้ให้บริการต้องดำเนินการจัดเก็บนั้น จัดเก็บเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็น เพื่อแสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทางปลายทาง ข้อมูลที่ระบุพฤติกรรมการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต อาทิวันและเวลาไม่ต้องเก็บข้อมูลทั้งหมด หากผู้ให้บริการรายใดไม่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีความผิดปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากเจ้าหน้าที่เรียกตรวจสอบข้อมูลแล้วผู้ให้บริการไม่มีข้อมูลดังกล่าว ถูกปรับไม่เกิน 200,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละบาท จนกว่าจะปฏิบัติถูกต้อง ซึ่งผู้ให้บริการภายใต้กฎหมายนี้ เช่น เว็บ Sanook, Kapook ทั้งนี้จากการที่กฎหมายดังกล่าวบังคับใช้อาจทำให้ผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
การติดตามผู้กระทำผิดถือว่าเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ให้บริการ สามารถตรวจสอบผู้กระทำผิดได้จาก IP วันและเวลาที่ Post ข้อความ
สิ่งที่สำหรับ พ.ร.บ.นี้ถูกนำมาใช้ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลการจราจรของคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการร้านอินเตอร์เน็ต และองค์กรอื่น ๆ ทันที
จะเห็นได้ว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีเยอะมาก และก็มาในหลายรูปแบบอาจปลอมตัวมาทดลองงานในองค์กรองค์กรหนึ่งแล้วก็ล้วงความลับขโมย ทำลาย ก่อกวน เจาะระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรจนก่อให้เกิดความเสียหาย
หากผู้ใช้บริการไม่ศึกษา พ.ร.บ.นี้ ให้เข้าใจอาจจะทำให้ได้รับโทษโดยที่ไม่ทันตั้งตัวก็เป็นได้
สื่อคอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอยู่บ้าง เช่น
1. กรณีหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ (ตามมาตรา 26) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลของผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ กรณีนี้จะทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
2. ความเข้าใจของประชาชน
3. ประกาศที่ตามมาของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (ไอซีที) ต้องมีความ
ชัดเจน เช่น หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ควรเก็บเฉพาะผู้แสดงความคิดเห็นเท่านั้น แต่ไม่ควรเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งหมด ซึ่งการเก็บข้อมูลก็ไม่ควรเก็บรายละเอียดเยอะเกินไป เพื่อไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ให้บริการ